วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

นิทานซามูไรสามพี่น้อง

นิทานซามูไรสามพี่น้อง

          โบคุเดน ซึคาฮารา เป็นหนึ่งในนักดาบผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคโบราณ ท่านมีบุตรอยู่สามคน บุตรทุกคนล้วนสืบทอดอัจฉริยภาพในทางศิลปะการฟันดาบมาจากบิดาของตน ในบั้นปลายชีวิตโบคุเดนต้องการที่จะทดสอบความสามารถของบุตรแต่ละคน
          จึงอยู่มาวันหนึ่ง ท่านนั่งอยู่ในห้อง และให้เรียกหาบุตรสุดท้องเข้ามาพบ บุตรสุดท้องก็เดินเขามาตามระเบียง เลื่อนประตูเปิดออกและก้าวเข้ามา ทันใดนั้นก็มีวัตถุบางอย่างตกลงมาจากเบื้องบน และก่อนที่สิ่งนั้นจะกระทบถูกศีรษะ เขาก็ก้าวถอยหลังและซักดาบออกมาฟันดุจประกายสายฟ้า เมื่อแลดูไป เขาจึงเห็นลูกไม้กลม ๆ ถูกฟันแยกออกเป็นสองเสี่ยงตกกลิ้งอยู่แทบเท้าโบคุเดนได้เตรียมลูกไม้วางไว้บนคานประตู เพื่อว่าลูกไม้จะหล่นลงมาทันทีเมื่อประตูเปิดออก
          "ตอนนี้ เธอจงกลับไปยังที่พักของเธอก่อน" บิดากล่าวกับบุตรสุดท้อง ต่อจากนั้นท่านก็เรียกบุตรที่สองมา ซึ่งบุตรก็เปิดประตูออกโดยไม่รู้เล่ห์เช่นกัน เมื่อลูกไม่ตกลงมาเหนือศีรษะ เขาก็รับเอาไว้ได้ด้วยมือเปล่า "เอาละ กลับไปรอในห้องของเธอก่อน" บิดาสั่ง
          ในที่สุดบุตรหัวปีก็ถูกเรียกหา เมื่อเขาจวนจะก้าวเข้ามาในห้องอยู่แล้ว จิตของเขาได้ตระหนักรู้ถึงสิ่งผิดปรกติบางอย่างบนคานประตู เขาได้นำลูกไม้ที่วางอย่างหมิ่นเหม่บนคานประตูลงมา เข้ามานั่งลงเบื้องหน้าบิดาและพูดว่า "ลูกรู้ว่าบิดาต้องการทำอะไร"
          โบคุเดนจึงเรียกบุตรอีกสองคนมาอีกครั้งหนึ่ง ท่านตำหนิบุตรคนสุดท้องอย่างขมขื่นว่า "เธอควรจะละอายใจต่อความล้มเหลวเช่นครั้งนี้ แม้จะเกิดขึ้นเพียงแค่ช่วงวินาทีหนึ่ง" ครั้นแล้วท่านก็หันไปให้กำลังใจบุตรคนที่สองว่า "จงหมั่นเพียรต่อไปอีกสักครั้งเถิด ลูกเอ๋ย ฝึกฝนตนให้รุดหน้าต่อไป อย่าได้หลงละเลยเสีย" ในที่สุดก็มาถึงบุตรหัวปี ซึ่งท่านได้หันไปกล่าวขึ้นกับลูกศิษย์ลูกหาของท่านว่า "ฉันรู้สึกยินดีที่เธอมีความสามารถสมกับที่จะได้เป็นทายาทผู้สืบทอดสิลปะแขนงนี้ต่อจากฉัน".

วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

ชายตาบอด 4 คน

ชายตาบอด 4 คน
จากหลักธรรมคำสอนประจำวัน ในเวปไซต์ Buddhist Chennel เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 ที่ประเทศสิงคโปร์ –
แปล โดย ปิยนุช (อาสาเยาวชนชาวพุทธ)
วาดภาพประกอบ โดย a-suka (อาสาหนุ่มสาวชาวพุทธ)
             มีชายตาบอดคนหนึ่งกำลังจะออกจากบ้านเพื่อนเพื่อเดินทางกลับบ้าน ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน เพื่อนผู้หวังดีของเขาแนะนำให้ชายตาบอดนำโคมไฟติดตัวไปด้วย แต่ ยังไม่ทันที่เพื่อนของเขาจะพูดจบ ชายตาบอดกลับหัวเราะออกมาและพูดสวนกลับมาว่า
             “ ทำไมฉันต้องเอาโคมไฟนี่ไปด้วยล่ะ ฉันน่ะรู้ทางไปบ้านของฉันดี ไม่จำเป็นหรอก ”
             แต่เพื่อสนองความหวังดีของเพื่อนเขาจึงจำต้องเอาโคมไฟนั้นมาด้วย และเมื่อเขาเดินทางไปได้สักพัก ก็มีคนเดินมาชนเขาเข้า ทำให้เขาตกใจ และรู้สึกโกรธขึ้นมาตงิดๆ แล้วเขาก็ตะโกนขึ้นมาว่า
            “ เฮ้ย !!! นี่คุณไม่ได้ตาบอดซะหน่อย ช่วยหลีกทางให้คนตาบอดเดินหน่อยไม่ได้รึไงกัน ”
             แล้วชายตาบอกก็เดินทางต่อไป แต่แล้วก็มีคนอื่นเดินมาชนเขาอีกครั้ง คราวนี้ความโกรธของเขาทวีความรุนแรงขึ้น เขาตะโกนถามคนที่เพิ่งเดินชนเขาว่า
             “ นี่ คุณตาบอดรึไงกัน ไม่เห็นแสงโคมไฟของผมหรอ ผมอุตส่าห์ถือมันมาเพื่อให้คุณมองเห็นผมนะเนี่ย ”
            ชายแปลกหน้าตอบชายตาบอดว่า “ นี่คุณตาบอดหรือนี่ คุณไม่เห็นหรอว่าโคมไฟของคุณน่ะมันดับไปแล้ว”
             ชายตาบอดชะงักกับคำตอบที่ได้ไปครู่หนึ่ง แล้วชายแปลกหน้าคนนั้นก็ขอโทษชายตาบอด
            “ ขอโทษทีครับ ผมก็เป็นคนตาบอดเหมือนกัน ผมมองไม่เห็นว่าคุณก็ตาบอดเหมือนกับผม ” –
            “ ไม่หรอกครับ ผมต่างหากเป็นฝ่ายที่ต้องขอโทษที่ผมหยาบคายกับคุณ ”
             ชายตาบอดทั้งสองรู้สึกอายเป็นอย่างมาก
             หลังจากนั้นชายตาบอดยังคงเดินทางต่อไป และแล้วเขาก็ถูกชนอีกครั้ง ครั้งนี้เขาระวังมากขึ้น เขาถามคนที่เดินชนเขาอย่างสุภาพว่า
            “ ขอโทษครับ ไม่ทราบว่าโคมไฟของผมดับรึเปล่าครับ ”
             ชายแปลกหน้าคนที่สองตอบว่า
            “ เอ้ !! แปลกจริงๆ นั่นมันเป็นคำถามที่ผมต้องถามคุณนี่นา โคมไฟผมดับหรือครับ ”
             ชายทั้งสองหยุดเงียบไปครู่หนึ่งก่อนที่จะถามกันและกันว่า
             “ คุณตาบอดรึเปล่า ?” –
            “ ใช่ !!! ”
             ชายทั้งสองคนตอบพร้อมกัน แล้วชายตาบอดทั้งสองคนก็ระเบิดเสียงหัวเราะออกมาเพราะคำตอบของพวกเขาเอง จากนั้นชายตาบอดทั้งสองก็คลำไปที่โคมไฟเพื่อพยายามจะจุดมันขึ้นมาใหม่ ขณะนั้นเองก็มีคนเดินผ่านมา เขาเห็นชายทั้งสองยืนอยู่จึงเดินเลี่ยงไปอีกทางหนึ่งเพื่อจได้ไม่เดินชนกัน เขาคนนั้นไม่ทราบหรอกว่าชายทั้งที่ยืนอยู่นั้นเป็นคนตาบอด และเมื่อเขาเดินผ่านไปเขายังนึกในใจว่า
             “ บางที ถ้าเราเอาโคมไฟมาด้วยก็คงจะดี จะได้เห็นทางได้ชัดขึ้น และคนอื่นก็จะได้พลอยเห็นทางไปด้วย ”
             โดยไม่มีใครทราบเพื่อนผู้หวังดีของชายตาบอดคนแรกได้ถือโคมไฟเดินทางตามมาอย่างเงียบๆ เพื่อเขาจะได้แน่ใจว่าชายตาบอดเพื่อนของเขาจะเดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัย เขายิ้มกับเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น และเขาก็หวังว่าเพื่อนของเขาคงได้รับบทเรียนจากเหตุการณ์ที่ชายตาบอดได้เจอในครั้งนี้ด้วยตัวของเขาเอง
             หากท่านอ่านนิทานเรื่องนี้แล้วเข้าใจ กรุณาบอกหน่อยเถอะครับ ว่านิทานเรื่องนี้สอนใจเราว่าอย่างไร

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

ชาติไทย

เลือดหนึ่งหยดที่เสียไป ช่วยต่อชีวิตให้กับหนึ่งครอบครัวที่จะเสียคนสำคัญ

เพลงชาติไทยมีประวัติที่ยาวนาน และทุกๆเนื้อร้องที่เขียนขึ้นไม่ว่ากี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ล้วนแต่กระตุ้นให้คนไทยรู้รักสามัคคี แต่ในวันนี้คนไทยกำลังทำอะไรกันอยู่

เพลงชาติไทยแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถือเป็น เพลงชาติไทยลำดับที่ 7 ซึ่งประกาศใช้ในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดย รัฐนิยมฉบับที่ 6 เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2482  ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ตั้งแต่ ปี 2475 ประพันธ์เนื้อร้องโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)
ก่อนหน้านั้นมี เพลงชาติไทย ใช้มาแล้ว 6 เพลง เริ่มต้นระหว่าง ปี 2395 – 2414   ใช้ทำนองเพลง God Save the Queen ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษ หมด ดังนั้นเพลง กอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2395 ถึง 2414  เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพ แด่องค์พระมหากษัตริย์โดยเรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ แต่ต่อมาเมื่อ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ นั่นแหละจึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 1   “ความสุขสมบัติทั้งบริวาร เจริญพละ ปฏิภาณผ่องแผ้ว จงยืนพระชน...มาน นับรอบร้อย แฮ มีพระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์ เพี้ยง จันทร”

       ในยุค รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงคโปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้น ของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ
       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาต ิที่มีความเป็นไทย มาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบัน หรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสม เด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็น สากลขึ้น โดย เฮวุดเซน (Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. 2414-2431
      เพลงชาติลำดับที่ 3 นั้นเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 เช่นกัน โดยประพันธ์ทำนองโดย นักประพันธ์ชาวรัสเซีย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) คำร้องเป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่าง ปี 2431 – 2475 ใช้มายาวนานเพราะมี ท่วงทำนองไพเราะ เนื้อหาสมบูรณ์ และทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ในนามของ เพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นเอง
      เพลงชาติลำดับที่ 4 เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (24 มิถุนายน 2475) แล้ว เพลงชาติลำดับนี้เป็นเพลงชาติชั่วคราว (เนื่องจากมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้างเพลงชาติขึ้นมาใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม คือเพลงมหาชัย ไปพลางก่อน) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้อง ซึ่งมีเนื้อหาปลุกใจให้คนไทยเกิดความรักชาติ และเกิดความสามัคคี ตลอดจนให้เลื่อมใสในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้

ยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ
ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย
เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน ธรรมนูญสถาปนาพรรษาใหม่
ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า

เพลงชาติลำดับนี้ใช้ในช่วงสั้น ๆ ไม่ถึง 1 เดือน ก็เปลี่ยนแปลงไป

เพลงชาติลำดับที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2475  และประพันธ์เนื้อร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อ วันที่ 7กรกฎาคม 2475 แต่ก็ใช้อยู่เพียงระหว่าง ปี 2475 – 2477 โดยมีเนื้อร้องดังนี้

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา ร่วมรักษาเอกราชชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของชาติไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือกระดูกที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสรเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เชิดชัย ชโย

กำเนิดของเพลงชาติลำดับที่ 6 นั้น สืบเนื่องมาจากการที่ในปีพุทธศักราช 2477  รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพลงชาติขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน และมีกรรมการท่านอื่นร่วมด้วยดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์ พระเจนดุริยางค์ หลวงชำนาญนิติเกษตร จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเพลงชาติโดยเฉพาะ ผลการตัดสินปรากฎว่า มีเพลงชาติแบบไทย และแบบสากล อย่างละเพลงคือ แบบไทยได้แก่เพลงชาติของจางวางทั่ว พาทยโกศลที่แต่งขึ้นจากเพลงไทยเดิมชิ่อว่า “ตระนิมิตร” ส่วนทางสากลได้แก่ เพลงของ พระเจนดุริยางค์ ที่แต่งไว้แล้ว ในเวลาต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ ได้พิจารณาว่า เพลงชาตินั้นควรจะมีลักษณะ ที่บ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีสองเพลงอาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ลดลง จึงร่วมกันพิจารณาใหม่ ในที่สุดตกลงว่าให้มีทางสากลเพลงเดียวคือ แบบทำนองสากลของพระเจนดุริยางค์ จึงได้จัดให้มีการประกวดบทร้องขึ้นใหม่ คณะกรรมการได้สรุปผลให้บทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล และบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา ได้รับรางวัล และตัดสินให้บทร้องของขุนวิจิตรมาตราได้รับรางวัลชนะเลิศ

บทร้องที่คณะกรรมการคัดเลือกมีดังนี้

        บทของนายฉันท์ ขำวิไล

เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม
ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา
แม้ถึงไทยไทยด้อยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า
ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี
เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้
ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสระเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย
จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมั่นรักชาติไม่ขาดสาย
มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงชาย สยามมิวายอยู่มุ่งหมายเชิดชัย ไชโย

        บทของขุนวิจิตรมาตรา

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา ร่วมรักษาสามัคคีทวีไทย
บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไท ไชโย

ในปีพุทธศักราช 2482 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากคำว่า “สยาม” มาเป็น “ไทย” ทำให้จำต้องแก้ไขบทร้องในเพลงชาติด้วย รัฐบาลจึงได้จัดประกวดบทร้องเพลงชาติไทยขึ้นใหม่ผลการประกวด ปรากฎผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ส่งเข้าประกวดในนามกองทัพบก และให้ใช้ทำนองขับร้องเพลงชาติไทย ของพระเจนดุริยางค์ ตามแบบที่มีอยู่เดิม (ดังได้กล่าวแล้วในย่อหน้าแรก) กลายเป็นเพลงชาติลำดับที่ 7 (ปัจจุบัน) ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้

“ ประเทศไ ทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย ”

        พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ มีความปราบปลื้มและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับได้สั่งเสียบุตร ธิดา ไว้ว่า “ฉันได้สั่งบุตรธิดาของฉันไว้ทุกคนว่า ในกาลภายหน้าเมื่อถึงวาระที่ฉันจะต้องเกษียณอายุลาโลกไปแล้ว ขณะใกล้จะขาดอัสสาสะ ขอให้หาจานเสียงเพลงชาติอันนี้ มาเปิดให้ฟังให้จงได้ เพื่อบังเกิดความชุ่มชื่นระรื่นใจ อันไม่มีเสื่อมคลายตราบสิ้นปราณ”

คัดลอก ดัดแปลงจาก ห้องสมุดทางทหาร กองทัพบกไทย